กลุ่มปราสาทตาเมือน

ที่ตั้งของปราสาททั้งสามบนเส้นทางช่องเขาตาเมียง

กลุ่มปราสาทตาเมือน

กลุ่ม ปราสาทตาเหมือน ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก (หรือพนมดงแร็ก) ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 18 ตำบลบ้านตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วยโบราณสถาน ๓ แห่ง ได้แก่ ปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือนธม โดยปราสาทตาเมือนโต๊ด อยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนธม ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 750 เมตร และอยู่ห่างจากปราสาทตาเมือน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 390 เมตร

หากเดินทางอำเภอปราสาท บ้านไปผม ออกไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๔ ไปทางอำเภอประโคนชัย เมื่อถึงนิคมสร้างตนเองปราสาท ให้เลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอพนมดงรัก ตามเส้นทาง ๒๓๙๗ จนกระทั่งพอทางหลวงหมายเลข ๒๒๔ ให้เลี้ยวขวา ไปเรื่อย จะพบป้ายบอกทางเป็นระยะ เมื่อถึงบ้านตาเมียง ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๔๐๗ จนถึงบ้านหนองคันนา เลยบ้านหนองคันนาไปจะพบป่า และจะพบปราสาทตาเมือนอยู่ทางซ้ายมือ

เส้นทางค่อนข้างจะลึกลับ เพราะต้องเข้าไปในเขตชายแดน ผมขับรถไปคนเดียว กลัวมาก จะตัดสินใจกลับหลายครั้ง เพราะมันแทบจะไม่มีรถสวนมาเลย โดยเฉพาะเมื่อเลยบ้านหนองคันนาไปแล้ว พอไปถึงปราสาทตาเมือน ต้องลงแบบกล้าๆ กลัวๆ รถก็ต้องจอดบนทางเดิน เผื่อว่ามีอะไรเกิดขึ้นจะได้รีบไปได้

พอ ไปถึงปราสาทตาเมือน ก็มีรถทัวร์ทัศนาจรหนึ่งคัน กับนักท่องเที่ยวที่มาจากกาบเชิง อุ่นใจมาก สอบถามได้ความว่าข้าไปข้างในอีกนิดจะเจอปราสาทตาเมือนธม สักพักก็มีรถของนักท่องเที่ยว ๒ คันขับเลยไป…เย้ มีเพื่อนเที่ยวแล้ว

เฮ้ย…คิดว่าจะต้องไปดูคนเดียวซะแล้ว

สรุปว่า “โครงการปราสาททัวร์” ครั้งนี้ ออกแนวกลัวๆ ตื่นเต้นๆ  แต่ก็มีความสุขเหมือนทุกครั้งที่ได้ไปทัวร์ปราสาทเลยครับ

ที่แรกที่ไปก็คือ…

ปราสาทตามเมือน หรือ ปราสาทบายกรีม เป็นธรรมศาลา หรือบ้านพักที่มีไฟ เป็นที่พักคนเดินทางที่สร้างขึ้นตามเส้นทางสายราชมรรคา จากเมืองพระนคร ถึงเมืองพิมาย เป็นธรรมศาลาแห่งแรกบนแผ่นดินไทย และเป็นธรรมศาลาที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

บางคนเรียกธรรมศาลาว่า “โรงแรมโบราณ” น่ะครับ

ปราสาทตาเมือน ธรรมศาลาแห่งแรกตามเส้นทางราชมรรคาบนแผ่นดินไทย

ทับหลังของปราสาทตาเมือน

ภายในปราสาทตาเมือน

เลย จากปราสาทตาเมือนไปอีกประมาณ ๓๐๐ เมตร ก็จะพบปราสาทตาเมือนโต๊ด หรือปราสาทตาเมือนเล็ก ก่อด้วยศิลาแลง มีกำแพงล้อมรอบและมีสระน้ำขนาดเล็กอยู่ทางทิศเหนือหนึ่งสระ เชื่อกันว่าปราสาทแห่งนี้เป็นอโรคยาศาล หรือ สถานรักษาพยาบาลของชุมชน หรือตามรายทางที่เป็นเส้นทางคมนาคม ซึ่งนิยมสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ภาพจากด้านนอกของปราสาทตาเมือนโต๊ด (ในวันที่ไปนั้นมีทหารลาดตระเวนมาดูด้วย)

ปราสาทประธานของปราสาทตาเมือนโต๊ดถ่ายจากประตูของโคปุระด้านทิศตะวันออก

ปราสาทประธานจากด้านตะวันตกเฉียงเหนือ

จะเห็นว่าปราสาทยังไม่ได้สลักลวดลาย สภาพค่อยข้างสมบูรณ์ เพราะว่าไม่โดนรื้อค้นหรือทำลาย

ปราสาทตาเมือน จากซ้าย ปราสาทประธาน ประตูกลาง โคปุระด้านตะวันออก ขวาบรรณาลัย

บรรณาลัย ของปราสาทตาเมือนโต๊ด

พอไป ถึงปราสาทตาเมือน ก็มีรถทัวร์ทัศนาจรหนึ่งคัน กับนักท่องเที่ยวที่มาจากกาบเชิง อุ่นใจมาก สอบถามได้ความว่าข้าไปข้างในอีกนิดจะเจอปราสาทตาเมือนธม สักพักก็มีรถของนักท่องเที่ยว ๒ คันขับเลยไป…เย้ มีเพื่อนเที่ยวแล้ว

เฮ้ย…คิดว่าจะต้องไปดูคนเดียวซะแล้ว

สรุปว่า “โครงการปราสาททัวร์” ครั้งนี้ ออกแนวกลัวๆ ตื่นเต้นๆ แต่ก็มีความสุขเหมือนทุกครั้งที่ได้ไปทัวร์ปราสาทเลยครับ

หลัง จากเที่ยวชมปราสาทสองแห่งแล้ว คือ ปราสาทตาเมือน กับปราสาทตาเมือนโต๊ด แล้ว เลยเข้าไปใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา อีกประมาณ 800 เมตร ก็จะพบกับฐานปฏิบัติการตาเมือนธม ซึ่งสุดชายแดนไทยพอดีครับ

ปราสาทตาเมือนธม

ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มโปราณสถานปราสามตาเมือน (ธม เป็นภาษาเขมร แปลว่า ใหญ่) ตัวปราสาทอยู่บนเนินเขาสร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของ สยัมภูศิวลึงค์ และเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม

ตัวปราสาทตาเมือนธม หันหน้าไปทางทิศใต้ ผิดแผกจากแห่งอื่นซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก รับกับเส้นทางที่มาจากเขมรต่ำผ่านมาทางช่องทางตาเมือนนี้

ปราสาทตาเมือนธมประกอบด้วยปราสาทประธาน มีอาคารอื่น คือปรางค์ก่อด้วยหินทรายสองหลัง อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทประธาน มีบรรณาลัยศิลาแลงสองหลัง และนอกระเบียงคดทางทิศเหนือ มีสระน้ำขนาดเล็กสองสระ

ปราสาทแห่งนี้อยู่ใกล้เขตชายแดนเขมร มากที่สุด การเที่ยวชมจึงควรอยู่เฉพาะภายในเขตปราสาทเท่านั้น ไม่ควรเดินออกไปไกลจากแนวต้นไม้รอบปราสาทเพราะพื้นที่นี้ยังไม่ปลอดภัยนัก

บันไดขึ้นจากทิศใต้ มองเผินเหมือนพีระมิดเลย

บางส่วนของปราสาทประธานที่หลงเหลืออยู่

จริงๆ แล้วปราสามตาเมือนธม ดูจะเป็นปราสาทที่มีองค์ประกอบค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเหมือน ลวดลายสลักก็งดงาม แต่เพราะความงดงามนี่เองที่ทำให้ปราสาทถูกทำลายไปมา โดยเฉพาะปราสาทประธาน

ไปครั้งนี้ได้ทราบข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง ก็คือ ได้พบนางอัปสราบนแผ่นดินสยามที่นี่ด้วย เพียงแต่เป็นนางอัปสราที่ถูกทำลายจนไม่อาจจะมองไม่เป็นนางอัปสราแล้ว ทวารบาลก็ถูกทำลายไปเสียมาก

นางอัปสราที่ตาเมือนธมที่มีอยู่ 4 จุดด้วยกันครับ
แต่สภาพถูกสกัดใบหน้าบ้าง แตกหักไปตามการพังทลายของปราสาทบ้างครับ

สองนางอัปสราแห่งตาเมือนธม...เหลือแค่นี้เองครับ

สองนางอัปสราแห่งตาเมือนธม...เหลือแค่นี้เองครับ

ส่วนประกอบอย่างทับหลังไม่เหลือให้เห็นสักชิ้น

ส่วนประกอบสำคัญของปราสาทขอมนั้น คือ ทับหลัง ไม่ปรากฏให้เห็นเลย อาจจะเป็นไปได้ว่าสลักไม่เสร็จ แต่ผมว่า น่าจะโดนโจรกรรมไปหมดแล้วล่ะครับ

นี่แหละครับ ความสวยงามก็เป็นโทษเหมือนกัน ไม่ต่างกับสมันที่เขาสวยงาม และเพราะความสวยงามของเขานี่เองที่ทำให้มันสูญพันธุ์

รู้จักจุฬาตรีคูณไหมครับ…สวยงามที่ปฏิเสธความสวยของตัว ไม่อยากให้ตนเองสวย…นอกเรื่องจนได้ครับ

4 responses to “กลุ่มปราสาทตาเมือน

  1. ปราสาทตาเมียนธม สร้างขึ้นในสมัย อาณาจักรเจนละ ไม่ใช่ สร้างขึ้นในอาณาจักรเขมร แต่รูปร่างคงไม่ใช่เป็นแบบในปัจจุบันนี้ ไม่ใหญ่โตเท่านี้ และชื่อของปราสาทก็ไม่ใช่ชื่อนี้ด้วย
    เพราะใน พุทธศตวรรษที่ 12 นั้น อาณาจักรฟูนัน ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรเจนละ (สมัยพระเจ้าจิตรเสน – มเหนทรวรมัน) — เอ่อ ตอนนั้นยังไม่มีอาณาจักรเขมร ครับ
    พระเจ้ามเหนทรวรมัน (พ.ศ.1143-1158) ครองเมือง ภวปุระ แถวๆวัดภู และแผ่อำนาจมายังทางเหนือของเทือกเขาดงเร็ก ดังจะเห็นได้จากการพบ จารึกที่กล่าวถึงพระองค์ ทั้งในนาม จิตรเสน และ มเหนทรวรมัน ถึง 11 หลัก ตั้งแต่ โขงเจียม -อุบลราชธานี ปะคำ – บุรีรัมย์ ศรีเมืองแอม – ขอนแก่น ช่องสระแจง(ตาพระยา) – สระแก้ว จารึกเป็นภาษา สันสกฤต อักษรปัลลวะ และมีข้อความ คล้ายคลึงกัน ทั้ง 11 หลัก

    จารึกปราสาทตาเมียนธม 1 ( สร 13) จารึกเป็นภาษาสันสกฤต อักษรปัลลวะ อยู่ใน พุทธศตวรรษที่ 12 เช่นเดียวกัน ก็น่าจะอยู่ในสมัยพระเจ้า มเหนทรวรมัน เช่นกัน แต่ ข้อความแตกต่างกัน มี 2 บรรทัด ดังนี้

    ศิว…….ติภิรุทฺเทวการุยฺยานิ การเยตฺ
    กฤต……….สายุชฺยํ ศิวมาปยาต

    คำแปล
    พึงให้ทำงานเกี่ยวกับเทพ ด้วย………พระศิวะ
    ท่านทั้งหลายพึงถึงพระศิวะ โดยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเทพเจ้า…ตามกรรมที่กระทำแล้ว

    เห็นไหมครับ แม้จะมีข้อความไม่เหมือนกัน กับอีก 11 หลัก แต่ก็เห็นได้ว่า นับถือพระศิวะ
    ทราบไหมครับว่า จารึกตาเมียนธม นี้ ขุดพบที่ฐานล่างของปราสาทโดยกรมศิลปากร ในปี 2537 – 38 และ ลักษณะของแผ่นจารึกที่พบนี้ ถูกเจาะออกเป็นช่องสี่เหลี่ยม แสดงว่า เป็นของที่ทำมาแต่เดิม แต่อาจถูกนำมาเป็นฐานรองพื้นปราสาทในสมัย พุทธศตวรรตที่ 16 (บาปวน) ห่างกันตั้ง 300 กว่าปี

    แสดงว่าแต่เดิมอาจมีปราสาทสร้างอยู่ ณ ที่นี้ แต่ต่อมา ในสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (พ.ศ.1623-1650)ที่สร้างปราสาทหินพิมาย ก็อาจมาสร้างปราสาทหลังใหม่ ทับปราสาทเดิม ณ ที่นี้ เพื่อเป็นที่พักระหว่างทางในการเดินทางลงไปยังเมือง ยโสธรปุระ ในอาณาจักรเขมร

    แต่สิ่งที่พบว่า มีสิ่งที่เก่ากว่าสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ที่พบในที่แห่งนี้ คือ จารึกปราสาทตาเมียนธม 9 (สร 20) ซึ่งระบุ ศักราช 800 (พ.ศ. 1421) อันเป็นสมัย พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 (พ.ศ.1420-1431) ที่ครองกรุงหริหราลัย (โลลัวะ ) แต่ตัวจารึก กลับกล่าวถึงแต่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 (พ.ศ.1393-1420) แสดงว่าจารึกนี้ทำขึ้นหลังจากการสวรรคตของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 เพียง 1 ปี

    จารึกปราสาทตาเมียนธม 4 (สร 15) ระบุมหาศักราช 935 ซึ่งตรงกับ พ.ศ.1556 อันเป็นสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ.1553-1593) เป็นจารึกเกี่ยวกับการถวายที่ดิน

    เท่าที่เล่ามา ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า ปราสาทตาเมียนธม มีมาก่อนปราสาทหลังปัจจุบันที่เราเห็นๆกันอยู่ แต่จะมีรูปร่างอย่างไรไม่รู้ครับ

    เพราะหลักฐานต่างๆ สูญหายไปตั้งแต่บูรณะปราสาท ในปี 2537 -38 เป็นสิบกว่าปีมาแล้ว

    จารึกปราสาทตาเมียนธม 5 (สร 16) ระบุมหาศักราช 942 ซึ่งตรงกับ พ.ศ.1563 อันเป็นสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เช่นกัน

    แสดงว่าปราสาทตาเมือนทม มีมานานกว่าที่เราทราบกันว่าสร้างสมัยบาปวนที่เรารู้ๆ กันอยู่ แต่เราไม่ได้วินิจฉัยให้ถ่องแท้ ว่าที่จริงมีมาก่อนหน้านั้นมาก

    โดยเฉพาะ ในหนังสือประวัติศาสตร์จังหวัดสุรินทร์ ของกรมศิลปากร หน้า 41 ได้กล่าวว่า พบพระหริหระหินทราย ศิลปะแบบเขมรสมัยพนมดา ราวพ.ศ. 1100-1150 ที่ตำบลแนงมุด อำเภอพนมดงรัก

    เป็นหลักฐานสนับสนุนการก่อสร้างที่มีมานานตั้งแต่ อารยธรรมเจนละจริงๆ

    ครับผม

  2. อาจารย์ครับ

    ความจริงก็เป็นความรู้ทั่วๆไปที่เขาเคยลงบทความเอาไว้มากมาย

    แต่ผมเก็บเอามาเรียบเรียง ให้มาเป็นกลุ่ม เป็นระบบ และลำดับเหตุการณ์ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างมากๆ

    อีกอย่างหนึ่งต้องใช้หนังสือประกอบเป็นจำนวนมาก รวมทั้งต้องค้นคว้าทางเน็ตนั่นแหละครับ กว่าจะได้ข้อมูลออกมา ก็ใช้เวลาพอควร ดีที่ผมมีข้อมูลไว้บ้างแล้ว จึงไม่ยุ่งยากมากนัก

    ครับผม

  3. เราเคยได้ทราบกันมาว่า ปราสาทตาเมือนธม เป็นศิลปบาปวน แล้วเราก็มาทึกทักเอาว่าสร้างในสมัย ชัยวรมันที่ 6 (ผู้ที่สร้างปราสาทพิมาย -ปรางค์ประธาน,โคปุระ,ธรรมศาลา) จริงๆแล้วปราสาทตาเมือนธม สร้างในสมัยก่อนกว่า ปราสาทพิมายอยู่ช่วงหนึ่ง

    สังเกตุได้จาก ที่ปราสาทตาเมือนธม มีศิลปะประตูพระราชวัง (เดิมเรียกว่าศิลปะเกลียง/คลัง) อยู่ที่ประตูของปรางค์ประธานอยู่ด้านหนึ่ง แต่ส่วนอื่นๆก็เป็นศิลปะบาปวน ซึ่งอาจเป็นเพราะช่างยังคงมีทัศนะติดอยู่กับศิลปะนี้อยู่บ้าง จึงมีทั้ง ศิลปะประตูพระราชวัง กับศิลปะบาปวนแท้ๆ ปนเปกันอยู่

    แต่ปราสาทพิมาย เป็นศิลปะบาปวนปลายๆ (ปรางค์ประธาน ,โคปุระ,ธรรมศาลา,ทับหลัง)ปะปนอยู่กับศิลปะนครวัด และศิลปะบายน ในเวลาต่อๆมา

    ปราสาทตาเมือนธม สันนิษฐานว่าปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ราวๆสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ดังจะเห็นได้จากการพบจารึกตาเมือนธม 4 และ 5 และสร้างเพิ่มเติมในสมัย พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2

    ฉะนั้น ปราสาทตาเมือนธมอาจจะไม่ได้เกี่ยวขัองกับ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เพราะไม่เคยพบจารึกของพระองค์เลย ทั้งๆที่ พระองค์ก็เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ (แต่พบจารึกพิมายตั้งหลายหลัก)

    รึอาจจะมีจารึกอยู่ แต่มีผู้เอาไปครอบครองเป็นของส่วนตัว ก็ได้….(นะ)

    อีกอย่างหนึ้งคือแปลนการสร้างของปราสาทตาเมือนธม นั้นคล้ายกับแปลนของ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ -ศรีสะเกษ ซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 มากกว่าแปลนของ ปราสาทพิมาย ที่สร้างขึ้นโดย พระเจ้าชัยวรมันที่ 6

    ครับผม

ใส่ความเห็น